อวกาศอาจจะเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน การได้เดินทางท่ามกลางดวงดาว อยู่เหนือคนนับพันล้านที่กำลังทำหน้าที่ของตนบนดาวดวงใหญ่ที่ชื่อว่าโลก ที่เดียวในจักรวาล ณ ตอนนี้ที่เรารู้ว่าเอื้ออำนวยต่อชีวิต ความฝันในการเดินทางสู่ดวงดาวนั้นแน่นอนว่าแลกมาด้วยความทุ่มเท หยาดเหงื่อ ความรู้ และบุคลากรเบื้องหน้าเบื้องหลังนับพันนับหมื่นชีวิตที่คอยผลักดันให้เกิดโครงการอวกาศต่าง ๆ ตั้งแต่ Vostok , Apollo จนถึงโครงการสถานีอวกาศนานาชาติปัจจุบันแต่เส้นทางสู่ดวงดาวก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป บางครั้งพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นนักบินอวกาศหรือทีมวิศวกรก็ต้องแลกมาด้วยชีวิต ทีมงาน SPACETH.CO ได้รวบรวม 10 เรื่องราวความสูญเสีย จากการสำรวจอวกาศ มาให้ผู้อ่านทุกคนได้รู้จักกับพวกเขาเหล่านี้ และรู้ว่ากว่าจะเป็นเทคโนโลยีอวกาศทุกวันนี้ต้องแลกมาด้วยชีวิตคนมากแค่ไหน
1.Nedelin disaster (1960)
ตุลาคม ปี 1960 สหภาพโซเวียต เพียง 3 ปีหลังจากที่มนุษย์เริ่มต้นที่จะนำจรวดมาใช้งานในการส่งดาวเทียมดวงแรก Sputnik 1 ขึ้นสู่อวกาศ สหภาพโซเวียตก็ทำการทดสอบ R-16 จรวดรุ่นใหม่ที่สหภาพโซเวียตพัฒนาขึ้น การทดสอบครั้งนั้นมีขึ้นที่ Baikonur ฐานปล่อยจรวดหลักของสหภาพโซเวียตในตอนนั้น ระหว่างที่จรวด R-16 ถูกติดตั้งอยู่บนฐานปล่อยในค่ำคืนที่มืดมิดก่อนถึงฤดูหนาว ไม่มีใครรู้ว่าในอีกไม่กี่นาทีจะเกิดความผิดพลาดที่จะกลายเป็นอุบัติเหตุจากการสำรวจอวกาศครั้งแรกเจ้าหน้าที่ภาคพื้นวิ่งหนีเอาชีวิตรอดจากกองเพลิง ที่มา – Roskosmos ไฟฟ้าลัดวงจรในจรวดท่อนบน (second stage) ส่งผลให้เครื่องยนต์จรวดถูกจุดขึ้นโดยที่จรวดท่อนล่าง (first stage) เต็มไปด้วยเชื้อเพลิงแบบไฮเปอร์กอลิกที่มีความเป็นพิษสูง จรวดสูงกว่า 30 เมตร ระเบิดออกอย่างรุนแรง เกิดเป็นลูกเพลิงขนาดใหญ่ทำลายฐานจนไม่เหลือบรรดาเหล่าวิศวกรและทีมภาคพื้นดินที่กำลังทำการเติมเชื้อเพลิงจรวดอยู่ ถูกไฟครอก บางส่วนวิ่งหนีออกมาจากฐานปล่อยในขณะที่ตัวของพวกเขายังลุกเป็นเปลวเพลิง เหตุการณ์ในครั้งนี้คร่าชีวิตของเจ้าหน้าที่ฐานปล่อยไปกว่า 78 คน ซึ่งเป็นเลขที่รายงานโดยสหภาพโซเวียต แหล่งข่าวบางแห่งรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากถึง 92-126 คนเลยทีเดียวเหตุการณ์ครั้งนี้ยังคร่าชีวิตของ มิโตรฟาน เนเดลิน หัวหน้าทีมวิศวกรโครงการ R-16 หนึ่งในวิศวกรจรวดคนสำคัญของสหภาพโซเวียต ซึ่งชื่อเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ตั้งชื่อตามเขานั่นเอง แน่นอนว่าตามสไตล์สหภาพโซเวียต เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกปิดเงียบเป็นเวลาเกือบ 30 ปี และถูกเปิดเผยในช่วงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

2.Valentin Bondarenko (1961)
ในปี 1960 วาเลนติน บอนดาเรนโก วัย 24 ปี นักบินรบสหภาพโซเวียตได้ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในนักบินอวกาศ เขาได้ผ่านการทดสอบมากมายและในที่สุด ก็ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในนักบินที่จะบินในโครงการ Vosto เขาคือนักบินอวกาศรุ่นเดียวกับ ยูริ กาการิน, อเล็กซี ลีโอนอฟ, ปาเวล เบลยาเยฟ, วลาดิเมีย คามารอฟ ซึ่งล้วนแต่เป็นนักบินอวกาศรุ่นแรกของสหภาพโซเวียตภาพถ่ายของ เซอร์เกย์ คาราลอฟ กับกลุ่มนักบินอวกาศรุ่นแรก ที่มา – I. Snegirev สุดท้ายแล้ววาเลนตินก็ไม่ได้ขึ้นสู่อวกาศตลอดกาล ในปี 1961 ในระหว่างการทดสอบ Hypobaric Altitude Chamber ซึ่งเป็นห้องจำลองสภาพความดันบรรยากาศต่ำ วาเลนตินได้ทำผ้าเปียกแอลกอฮอล ตกใส่อุปกรณ์สร้างความร้อน ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตและลุกลามอย่างรวดเร็วด้วยแอลกอฮอล วาเลนตินถูกไฟครอกอย่างรุนแรง ในห้องที่เต็มไปด้วยออกซิเจน 50% ไฟทำลายร่างของเขา ผิวและใบหน้าของเขาถูกไฟเผาอย่างไม่เหลือสภาพวาเลนติน และสุสานของเขา ที่มา – Roskosmos ผ่าน Opinions สุดท้ายเขาเสียชีวิตในโรงพยาบาลเพียงแค่ 16 ชั่วโมงหลังจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น สร้างความเสียขวัญให้แก่เพื่อน ๆ นักบินอวกาศที่จะทำการขึ้นบินสู่อวกาศในไม่กี่เดือนหลังจากนั้นอย่างมา ปัจจุบันชื่อของเขาได้ถูกนำไปตั้งเป็นหลุมอุกกาบาตหลุมหนึ่งในด้านมืดของดวงจันทร์ เขาคือนักบินอวกาศคนแรกที่เสียชีวิต

3.Soyuz 1 (1967)
วลาดิเมีย คามารอฟ หนึ่งในนักบินอวกาศที่เก่งที่สุด หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกในปี 1960 ในที่สุด เวลากว่า 7 ปีก็ทำให้เขาได้ขึ้นสู่อวกาศครั้ง่แรก แต่นั่นก็เป็นการขึ้นสู่อวกาศครั้งสุดท้ายของเขาเช่นกันเมษายน 1967 ในภารกิจ Soyuz 1 ยานอวกาศรุ่นใหม่ของสหภาพโซเวียต ภารกิจนี้กลายเป็นตราบาปที่สำคัญของโครงการอวกาศโซเวียต หลังจากที่ เซอร์เกย์ คาราลอฟ เสียชีวิตโครงการอวกาศโซเวียตก็ถูกทำอย่างไม่รอบคอบ มีการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ และกลายเป็นการแสดงอำนาจทางการเมืองซะส่วนมากสภาพยานโซยุสหลังตกกระแทกพื้น ที่มา – Roskosmos Soyuz 1 ถูกบังคับให้บินขึ้นเพื่อฉลองวันเกิดของวลาดิเมียร์ เลนิน ทีมวิศวกรไม่มีเวลาตรวจสอบยานให้พร้อมก่อน ทำให้ระหว่างบินเกิดปัญหาขึ้นมากมาย มาคารอฟรู้ชะตากรรมของตัวเองว่า เขานั้นมีโอกาสที่จะไม่ได้กลับบ้านอีกแล้วภาพที่เศร้าโศกและตราตรึงในประว้ติศาสตร์การสำรวจอวกาศโซเวียตคือตอนที่ภรรยาของคามารอฟถูกเรียกมาที่ห้องควบคุมภารกิจ เพื่อให้พูดคุยและบอกลากับสามีของเธอเป็นครั้งสุดท้ายร่างที่เหลืออยู่ของคามารอฟ ที่มา – Roskosmos ผ่าน Pravdยาน Soyuz 1 กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกได้สำเร็จ แต่จนวินาทีสุดท้าย ร่มชูชีพของยานไม่ยอมกาง คามารอฟตกลงกระแทกพื้นในม่านเหล็กสีแดงที่ห่อหุ้มเขาเอาไว้จากอิสระ จากร่างกายนักบินอวกาศชายชาติทหารที่แข็งแรงกำยำ ร่างของเขากลายเป็นเพียงแค่ก้อนเนื้อเล็ก ๆ ที่ถูกเผาไหม้จนดำ วางอยู่บนผ้าห่อศพสีขาวที่ทีมกู้ภัยห่อหุ้มร่างของเขาเมื่อเดินทางไปถึงจุดตกของยานวาเลนตินา คามารอฟ ร้องไห้กับรูปของสามีของเธอในงานศพที่กรุงมอสโคว ที่มา – Pravda งานศพของเขาถูกจัดอย่างยิ่งใหญ่ และร่างของเขาถูกฝังไว้ในกำแพงของพระราชวังเครมลิน เหตุการณ์ครั้งนี้กลายเป็นบทเรียนครั้งสำคัญให้กับโครงการอวกาศโซเวียตและเตือนใจพวกเขาอยู่เสมอว่า ความยิ่งใหญ่ของชาติในยามที่มนุษย์อวกาศถูกส่งขึ้นไปจะไม่มีความหมายเลยถ้าหากพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้กลับลงมา

4.Apollo 1 (1967)
ในปี 1962 ประธานาธิบดี John F. Kennedy ได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าของการสำรวจอวกาศ นั่นคือการตัดสินใจเริ่มโครงการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์หลังจากนั้นโครงการ Apollo ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเริ่มต้นการเดินทางสู่ดวงจันทร์และหวังเป็นผู้ชนะสหภาพโซเวียตในสงครามอวกาศ หรือ Space Race นักบินทั้ง 3 คนกำลังไว้ยานอะพอลโล่ ที่มา – NASA 27 มกราคม 1967 การทดสอบครั้งแรกของยาน Apollo ได้มีขึ้น ณ แหลมเคอเนอเวอรัล นักบินอวกาศ Virgil Grissom, Ed White และ Roger Chaffee เข้าไปนั่งในยาน Apollo ท่ามกลางยานที่ถูกเติมด้วยออกซิเจน 100% แผงวงจรเล็ก ๆ ในยานก็ได้เกิดลัดวงจร ก่อเกิดเป็นประกายไฟขึ้น ไฟลามไปทั่วในยานอย่างรวดเร็ว พวกเขาเรียกร้องขอความช่วยเหลือ และพยายามเปิดประตูยานออก แต่ประตูยานนั้นถูกออกแบบมาให้เปิดได้จากด้านนอกเท่านั้น กว่าทีมกู้ภัยจะเปิดประตูยานได้พวกเขาทั้ง 3 คนก็อยู่ในสภาพที่ไม่มีชีวิตแล้ว สภาพในห้องนักบินที่พวกเขาเสียชีวิต ที่มา – NASA อุบัติเหตุในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเริ่มต้นโครงการ Apollo อย่างน่าเศร้า ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในยานอวกาศของ NASA ที่เลิกใช้ออกซิเจน 100% ในยาน และออกแบบประตูให้เปิดได้จากด้านใน ซึ่งเหตุการณ์นี้ยังหลอกหลอน NASA มาจนถึงปัจจุบัน

5.Soyuz 11 (1971)
มิถุนายน 1971 นักบินอวกาศทั้ง 3 คนได้แก่ กีโอร์กี โดโบรโวลสกี วิกเตอร์ ปาทซาเยฟ และ วลาดิสเลฟ วาลคอฟ เดินทางกลับจากสถานีอวกาศซัลลูท หลังจากภารกิจยาน 3 อาทิตย์บนสถาน ระหว่างที่ยานกำลังเดินทางกลับสู่ชั้นบรรยากาศของโลก วาล์วของตัวปรับความดันในยานกลับถูกเปิดออก นักบินอวกาศทั้ง 3 คนไม่รู้ตัวว่าความดันในยานกำลังลดลงเรื่อย ๆ ในขณะที่พวกเขาเดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เสียงเรียกจากวิทยุภาคพื้นดิน ไม่ถูกขานรับโดยนักบินทั้ง 3 คนในยานสร้างความประหลาดใจให้กับภาคพื้นดินมาก หลังจากที่ยานโซยุสลงจอดบนพื้นดินสำเร็จ ทีมเก็บกู้เดินทางไปยังจุดลงจอด พวกเขาเปิดฝายานออกก็พบกับนักบินอวกาศ 3 คนในสภาพร่างกายบวมเขียว และหมดสติ นักบินอวกาศทั้ง 3 ถูกพาออกมาจากยานในสภาพที่ไร้สติ ทีมพยาบาลพยายามทำ CPR ให้กับพวกเขาทั้ง 3 คน แต่ก็สายเกินไป พวกเขาเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจงานศพของนักบินอวกาศทั้ง 3 คน ที่มา – ไม่ปรากฏที่มา แต่ License เป็น Public ผ่าน Pravda เหตุการณ์นี้ทำให้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานในการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยนักบินอวกาศจะะต้องใส่ชุดอวกาศพร้อมหมวกนักบินทุกครั้งระหว่างเดินทางกลับโลกเพื่อป้องกันเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นอีก
